แบบบ้าน ทรงจั่วชั้นเดียว ปัจจุบันหลังคามีรูปร่างรูปทรง ให้เลือกใช้กันจำนวนมาก มีตั้งแต่หลังคาจั่วธรรมดาไปจนกระทั่งแบบไร้รูปร่างรูปทรง แต่ละทรงของหลังคาก็ เหมาะกับบ้านที่ไม่เหมือนกัน เหมาะกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน และเหมาะกับอุณหภูมิ ที่ต่างกันออกไป ดีไซน์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ต้องเก็บกลับมาคิดว่า บ้านแบบนี้เหมาะกับหลังคาแบบไหนกันนะ จนกลายเป็นเหตุทำให้จากเรื่องง่าย ๆ ที่ทุกคนก็รู้กันดีอยู่ แล้วกับเรื่องหลังคา กลายเป็นเรื่องยากในการเลือกใช้ให้เข้ากับบ้าน
บ้านทรงหลังคาจั่ว ที่เรารู้จักกันดีพบเห็นได้ทั่วไปชนิดที่เรียกได้ว่าหกล้มตรงไหน เงยหน้ามาก็เจอบ้านหลังคาจั่ว ลักษณะของหลังคาจะมีความลาดเอียงของสองฝั่งหลังคาลงมาประกอบกันให้สันอยู่บริเวณแกนกลาง
หลังคาชนิดนี้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศประเทศไทยเป็นอย่างมากเพราะมีคุณสมบัติในการรองรับฝนได้ดี ฝนถ่ายเทสะดวกจากความลาดเอียงของหลังคา ระบายน้ำได้รวดเร็วอีกทั้งยังป้องกันแดดได้ดี ขั้นตอนการก่อสร้างไม่ยุ่งยาก มีพื้นที่ใต้หลังคาที่สูงทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและระบายความร้อนได้ดี
แบบบ้าน ทรงจั่วชั้นเดียว
แบบที่ 1 บ้านทรงจั่วสูง ใช้วัสดุง่าย ๆ
งานสถาปัตยกรรมจากสถาปนิครุ่นใหม่ ๆ ในเวียดนาม เห็นปุ๊บก็แทบจะรู้ปั๊บว่าต้องใช่ ด้วยสไตล์การทำงานที่เน้นการใช้วัสดุที่คุ้นเคย อย่างอิฐ บล็อคช่องลม หิน หรือไม้ ที่ทำให้บ้านดูโปร่งตา ดูเย็นสบายเหมาะกับ บ้านเขตร้อนชื้น ที่ยังคงกลิ่นอายบ้านแบบ วิถีชีวิตชาวเวียดนาม
เมื่อมารวมกับการออกแบบ และการใช้จินตนาการ แม้บ้านจะดูเรียบง่าย แต่ก็ดึงดูดความสนใจ ของผู้คนได้มากมายทีเดียว บ้านที่เราจะพาไปชมวันนี้ก็ เป็นอีกหนึ่งหลังที่น่าจับตามอง ด้วยดีไซน์หน้าจั่ว สีขาว-เทา ผนังหินและอิฐช่องลม ทำให้บ้านเต็มไปด้วย ช่องทางให้หายใจ สบายตา อยู่แล้วน่าจะเย็นทีเดียว บ้านเดี่ยว
บ้านชั้นเดียวมีชั้นลอย โทนสีเรียบง่ายแต่กลับดูสะดุดตาหลังนี้ เป็นบ้านของสถาปนิกเวียดนาม RÂU ARCH ที่สร้างอยู่ในเมืองด่งเฮ้ย จังหวัดกว๋างบิ่ญ (Dong Hoi, Quang Binh) ในฐานะสถาปนิกจึงมีความคิด ให้หยิบจับมากมายจนเลือกไม่ถูก แต่ในที่สุดเมื่อถึงเวลาเข้าแล้วจริง ๆ เขาก็ตัดสินใจที่จะทดลองหลาย ๆ อย่างในบ้านของตัวเอง
หลังจากออกแบบและเลือกสิ่งที่ใช่ และใช้ระยะเวลาก่อสร้างเป็นเวลา 10 เดือน บ้านก็เสร็จสิ้นเป็นบ้านหลังคาลอนสีเทาจั่วสูง เต็มไปด้วยช่องแสงและช่องลม มีความโมเดิร์นผสมความคลาสสิค เมื่อเทียบกับอาคารโดยรอบดูแล้วแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ภายในบ้านประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ห้องครัว 3 ห้องนอน ห้องพระ ห้องน้ำ และพื้นที่ซักล้าง
ภายนอกอาคารส่วน ที่น่าประทับใจที่สุดของบ้านคือ ซุ้มประตูหน้าตัวบ้านที่ใช้หิน และอิฐบล็อคเป็นวัสดุหลัก หินเติมความเป็นธรรมชาติให้บ้านพร้อม Texture ที่สวยงาม ส่วนอิฐช่องลมในส่วนของ จั่วบ้านและผนัง ช่วยระบายอากาศและรับแสง ทำให้บ้านมี ช่องทางหายใจได้มาก ด้วยงบประมาณที่จำกัดเจ้าของบ้าน จึงต้องเดินทางข้ามจังหวัด เพื่อเลือกอิฐและหินถึงแหล่งด้วยความพิถีพิถัน หลังจากได้หินที่ต้องการ ก็นำมาจ้างโรงเลื่อยตัดแบ่งเป็นแผ่น ๆ
จั่วบ้านติดอิฐช่องลม ได้สัมผัสของธรรมชาติ แสง ลม ในราคาที่เอื้อมถึง อิฐช่องลมจากเมือง เว้สร้างเสน่ห์ให้กับฟาซาดและเพิ่มความน่าดึงดูดใจ ในบริเวณห้องนั่งเล่น รั้วบ้านทำจากอิบช่องลมเช่นเดียวกัน จึงเชื่อมความรู้สึกระหว่างภายในและภายนอกบ้านได้ดี รั้วต่อเนื่องกับซุ้มประตู คอนกรีตสีขาวขนาดใหญ่ ที่คลุมประตูหน้าบ้านบาน คู่สีน้ำตาลขนาดใหญ่ดูเรียบง่ายแต่น่าเกรงขาม เด่นสะดุดตาที่วงกลมสีขาวกลางประตู
หลังจากที่ผ่านซุ้มประตูหน้าบ้านเข้ามาจะเป็นประตู กระจกกรอบสีดำบนผนังสีขาว ทำให้บ้านดูโมเดิร์นและมีเส้นสายทางสายตาที่เด่นชัดขึ้น ก้าวเข้าสู่ตัวบ้านจะรู้สึกได้ถึง ความโปร่งสบาย เพราะแสงที่ลอดผ่านอิฐช่องลมเข้ามาสร้างความสว่างแล้ว ตัวบ้านภายในยังเปิด ผนังชนกันสองด้าน เพื่อให้บ้านรับลม และระบายอากาศได้เต็มที่ มีต้นไม้ช่วยเพิ่มร่มเงาและความเย็นสบาย
คนในครอบครัวไม่มีเงื่อนไขใน การซื้อเฟอร์นิเจอร์ว่าแต่ละคนอยากได้ แบบไหนเป็นพิเศษ สถาปนิกจึงเลือกใช้ของที่มีอยู่แล้วเพื่อให้ประหยัดงบประมาณ อย่างเช่น ชุดโต๊ะและเก้าอี้ของพ่อแม่ที่นำมาจัดในพื้นที่ใหม่ทำให้ผู้สูงอายุคุ้นเคยกับห้องนั่งเล่นในบ้านได้เร็วขึ้น ส่วนของพื้นบ้านเป็นอีกส่วนที่ต้องพิถีพิถัน หลังจากเลือกอยู่นานก็ตัดสินใจใช้พื้นยางมะตอย (asphalt) ที่สามารถต้านทานน้ำ ไฟ ปลวกได้
พื้นปูวัสดุสังเคาระห์ลายไม้ดูอบอุ่น สีน้ำตาลของผ้าม่านและชุดเฟอร์นิเจอร์ ไม้ทำให้บ้านมีกลิ่นอายบ้านยุค Mid Century อยู่ในความใหม่ เติมความน่าสนใจให้ผนังดูสะดุด ตามากขึ้น ด้วยกระเบื้องลายกราฟฟิคทาสีขาวตัดสับสีน้ำตาล
บ้านจั่ว สูงทำให้มีพื้นที่เหลือ จากหลังคาลงมาเพดาน บ้านอยู่พอสมควร เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่แนวตั้งไปโดยเปล่าประโยชน์สถาปนิกจึงทำเป็นชั้นลอย เพิ่มพื้นที่ใช้งาน ในส่วนนี้ทำบันไดเชื่อมขึ้นไป โดยมีระแนงกั้นบังบันไดเอาไว้เพื่อความเป็นส่วนตัว บริเวณแผงกันตกบริเวณ ชั้นลอยก่ออิฐช่องลมสีขาว ตัดกับระแนงที่เป็นสีน้ำตาลแดง
โถงที่ว่างกลางบ้านเป็นมุมอเนกประสงค์ เพื่อให้การใช้งานยืดหยุ่นขึ้นสถาปนิก จึงวางตู้ขนาดใหญ่ที่มีฉากฉลุกั้นแบ่งพื้นที่ใช้งานระหว่างครัวกับพื้นที่นั่งเล่น โดยที่ยังคงมองเห็นส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ แบบไม่ทำให้บ้านแคบ ในส่วนครัวโปร่งและสว่าง เพราะรับทั้งแสงและลมจากผนัง ที่ระบายอากาศ รับแสง ด้วยอิฐช่องลมเต็มผนัง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นอาหาร ควัน ความชื้นที่คงค้างอยู่ในตัวบ้าน
ครัวเน้นความสัมพันธ์กับพื้นด้วยการบิวท์ หน้าบานด้วยลายไม้สีนุ่มนวล ผนังบริเวณ Backspalsh ติดกระเบื้องสีเทาลายกราฟฟิคดวงเล็ก ๆ ทำให้ครัวดูไม่อึดอัด และทำความสะอาดง่าย ห้องนอนในโทนสีน้ำตาล-ขาว ติดกระเบื้องลวดลายกราฟฟิคคอนเซ็ปเดียวกับผนังด้านล่างบริเวณหัวนอน สีสันและการตกแต่งให้ บรรยากาศห้องนอนที่อบอุ่น สว่าง และโรแมนติก
แบบที่ 2 บ้านชั้นเดียวทรงจั่วขนาด 3 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ
ลักษณะบ้านเป็น บ้านชั้นเดียว รูปทรงจั่ว หลังคามุงด้วยกระเบื้องโทนสีเข้ม และมีกรุด้วยงานไม้อย่างสวยงาม พร้อมทั้งมีช่องระบายอากาศอยู่ใต้หลังคา เพื่อการถ่ายเทอากาศในบ้าน พื้นที่หน้าบ้านมีพื้นที่กว้าง และหน้าบ้านออกแบบด้วยการเพิ่มที่นั่งสำหรับนั่งเล่น นั่งชมบรรยากาศรอบบ้านได้อย่างสวยงาม กลางคืนยังมีโคมไฟสำหรับ เพิ่มความส่วางให้กับบ้านอีกด้วย
สำหรับมุมด้านข้าง บ้านออกแบบด้วยโทนสีเทาทั้งหลัง หน้าบ้านมีเสาหลักที่ออกแบบ ด้วยโทนสีเทาเข้ม เข้ามาในบ้าน ประตูทางเข้าใช้เป็นประตูไม้ และมีปูด้วยพื้นกระเบื้องโทนสีขาว และยังมีหลุมเพดาน เพิ่มความสดใสให้กับห้องนั่งเล่นด้วยโทนไฟสีเหลือง
ฝ้าเพดานมีไฟซ่อนอยู่ทำให้ห้องดูสว่าง น่าอยู่ทั้งกลางคืนและกลางวัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ห้องที่ กว้างขวางต่อการใช้งานมากอีกด้วย ห้องนอนออกแบบโทนสีขาว เน้นความเรียบง่าย เพื่อความสะดวก และการพักผ่อนที่ง่าย ๆ และให้ความสุขุมด้วยพื้นและโทนสีห้อง มีหน้าต่างช่วยระบายอากาศ ในเวลากลางวัน และติดตั้งแอร์เพื่อความสะดวกต่อการพักผ่อน
พื้นที่เชื่อมทางเดินระหว่างห้อง ออกแบบได้อย่างสวยงาม และพอดีต่อการใช้งานไม่แคบ และกว่างงมากเกินไป โดยห้องนอนแต่ละห้องใช้ ประตูห้องเป็นโทนสีขาว อีกมุมของห้องนอน จะเห็นว่ามีพื้นที่กว้างต่อ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์และดูเรียบง่าย ตามสไตล์บ้าน
ห้องน้ำออกแบบได้อย่างลงตัว ด้วยโทนขาว ดำ มีผนังที่เล่นลายได้ อย่างสวยงาม แบ่งพื้นที่กั้นระหว่าง พื้นที่การใช้งานได้อย่างพอีต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีพื้นที่กว้างมากอีกด้วย พื้นที่อาบน้ำติดตั้งฝักบัวสำหรับ การใช้งานเพื่อความสะดวกและยังมีช่อง ระบายอากาศในตัว บ้านในภูเก็ต
แบบบ้านทรงจั่วหลังนี้ อออกแบบในแต่ละส่วนได้อย่างลงตัว ต่อการใช้งาน หากใครที่กำลังหา ไอเดียการทำบ้าน เราหวังว่าไอเดียบ้านหลังนี้คงถูกใจ ไม่มากก็น้อยสำหรับ การปรับไอเดียบ้านของทุกคน