บ้านยกพื้น บ้านชั้นเดียวยกสูง เป็นหนึ่งในแบบบ้านที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบ ซึ่งจะเน้นความโปร่งโล่ง เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ดี และที่สำคัญคือมีพื้นที่ใต้ถุนบ้านให้สามารถใช้ประโยชน์เพิ่มเติมได้ สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวซื้อบ้านชั้นเดียวยกสูง หรือปลูกซื้อบ้านชั้นเดียวยกสูง นอกจากที่กล่าวมา ยังมีอีกหลายข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ

บ้านชั้นเดียวยกสูง มีลักษณะอย่างไร บ้านมีหลายประเภท เช่น บ้าน 3 ชั้น บ้าน 2 ชั้น และบ้านชั้นเดียว โดยลักษณะของบ้านชั้นเดียวที่ได้รับความนิยมจะเป็นบ้านชั้นเดียวยกสูง ซึ่งมีทั้งบ้านชั้นเดียวยกสูงเล็กน้อย ยกสูงปานกลาง และยกสูงให้ใต้ถุนเป็นพื้นที่สำหรับนั่งเล่นพักผ่อน ชมธรรมชาติ เลี้ยงสัตว์

เป็นที่จอดรถ รวมทั้งมีระเบียงหน้าบ้าน หรือชานหน้าบ้านที่สามารถเป็นพื้นที่นั่งเล่น รับลม ชมสวนได้เช่นเดียวกัน ดีไซน์จะไม่หนีจากกันมากนัก เป็นบ้านชั้นเดียวยกสูง สไตล์ไทยประยุกต์ สไตล์รีสอร์ท จะแตกต่างกันที่วัสดุที่เลือกใช้ มีทั้งบ้านไม้ บ้านไม้กึ่งปูน หรือบ้านปูนเปลือย ที่ทำให้ลักษณะบ้านดูแตกต่างกัน

บ้านยกพื้น

บ้านชั้นเดียวยกสูง ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังก่อนซื้อบ้านหรือสร้างบ้านมี 3 เรื่องหลัก ๆ คือ

1.ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย
บ้านชั้นเดียวยกสูง จะมีพื้นที่ใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นพื้นที่ กึ่งภายในและภายนอก มีร่มเงาและมีลมพัดผ่าน ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น เจ้าของบ้านอาจทำเป็นพื้นที่นั่งเล่น พื้นที่รับแขก เลี้ยงสัตว์ ที่จอดรถ หรือปล่อยว่างในช่วงที่หน้าฝน เนื่องจากบ้าน ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระดับการยกสูงต้องพอดี และไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย ที่สอดคล้องกับลักษณะของบ้านด้วย ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ต้องเสียพื้นที่ไปฟรี ๆ

2.ผู้อยู่อาศัย
บ้านชั้นเดียวยกสูงไม่เหมาะกับบ้านที่มี ผู้สูงอายุหรือผู้พิการ เพราะจะทำให้การขึ้น-ลง ไม่สะดวก ดังนั้นการจะซื้อบ้านชั้นเดียวยกสูง หรือสร้างบ้านชั้นเดียวยกสูงสักหลัง ต้องคำนึงจากผู้อยู่อาศัยเป็นหลักก่อนว่า เหมาะกับรูปแบบบ้านที่เป็นแบบไหนที่จะตอบโจทย์การอยู่อาศัย ของทั้งครอบครัว หรือในอนาคตหากแก่ตัวไป จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมอย่างไรให้เหมาะสม

3.งบประมาณ
หากมองในเรื่องของระดับความสูง หลายคนอาจจะ คิดว่าบ้านชั้นเดียวยกสูง ราคาประหยัด ใช้งบประมาณในการซื้อบ้านหรือสร้างบ้านน้อยกว่า แต่จากรีวิวสร้างบ้านที่มีการมาแชร์กัน ความเป็นจริงแล้ว หากเปรียบเทียบระหว่างบ้านชั้นเดียวและบ้านสองชั้นที่มี พื้นที่ใช้สอยเท่ากัน บ้านสองชั้นจะมีราคาก่อสร้างที่ต่ำกว่า เพราะไม่ต้อง ลงเสาเข็มในพื้นที่บริเวณกว้าง และขนาดผืนหลังคาขนาด เล็กกว่าบ้านชั้นเดียว ทั้งนี้ ยังขึ้นอยู่กับการเลือก ใช้วัสดุก่อสร้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร่วมด้วย

แบบที่ 1 บ้านยกพื้น ลดชื้นใต้อาคาร

บ้านยกพื้น

ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปสักกี่ปี “บ้านมีใต้ถุน” ก็ยังยืนหนึ่งในแบบบ้าน ที่คนไทยนิยมสร้าง อาจจะเป็นเพราะช่องว่างข้างใต้ช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดความชื้น และยังหนีน้ำท่วมในพื้นที่ ลุ่มต่ำหรือพื้นที่ ฝนตกชุกได้อีกด้วย

สำหรับบ้านมีใต้ถุน ก็มีทั้งใต้ถุนสูงใต้ถุนต่ำ แล้วแต่ความชอบว่าเจ้าของบ้าน ต้องการฟังก์ชันใช้งานแบบไหน ไม่เฉพาะบ้านในไทยเท่านั้น ที่สร้างแบบยกพื้น บ้านในซีกโลกตะวันตกก็มีเช่นกัน อย่างเช่นบ้านหลังนี้ ในสหรัฐอเมริกาที่ยกตัวบ้านขึ้น ใส่หลังคาเฉียงสูง มีระเบียงกว้าง ๆ แต่เห็นก็อยากออก มานั่งเล่นรับลมชิล ๆ แล้ว

บ้านยกพื้นลดชื้นลดร้อน บ้านหลังนี้การออกแบบ ในรูปลักษณ์ร่วมสมัยให้ เข้ากับบริบทของย่านออสติน รัฐเท็กซัส ที่แวดล้อมด้วยบ้านแบบชาวไร่ อากาศที่นี่ค่อนข้างอบอุ่น ค่อนไปทางร้อนแบบแห้ง ๆ

จึงต้องการช่องเปิดขนาดใหญ่คล้าย ๆ กับบ้านเรา ด้วยงบประมาณที่ไม่มากนัก ทำให้สถาปนิกเลือกใช้วัสดุง่าย ๆ การออกแบบไม่ซับซ้อน มองจากภายนอก จะเป็นว่าเป็นบ้านหลังคา หมาแหงนที่ประกอบกันหลาย ๆ ส่วน มีระเบียงกว้าง บองผ่าน ๆ เหมือนบ้านในชนบทของไทย

อีกด้านหนึ่งของบ้านมีสะพานเชื่อมจาก สวนเข้าสู่ตัวบ้าน ระหว่างทางเดินมีหลังคา คลุมเพื่อป้องกันแดดและฝน ทำให้แต่ละส่วนของบ้านไม่ขาดออกจากกัน และทำให้การสัญจรน่าสนุกขึ้น บ้านชั้นเดียวยกพื้น

บ้านยกพื้น

แบ่งพื้นที่เป็นช่อง ๆ มองเห็นกันได้ ภายในใช้ระบบ การจัดแปลนบ้านเป็นช่อง ๆ โดยใช้เสาและคานไม้เป็นตัวช่วย อาคารมีเพดานเฉียงสูงจึงใช้ประโยชน์ตรงนี้ สร้างพื้นที่ในระดับต่างๆ กันเหมือนเป็นบ้านชั้นครึ่งมีชั้นลอย ในชั้นล่างแต่ละช่องจะบรรจุฟังก์ชัน ใช้ชีวิตที่แตกต่าง

อาทิ ห้องนั่งเล่นดูหนังฟังเพลง ห้องอ่านหนังสือ ห้องทานข้าว โดยไม่มีผนังก่อทึบกั้นแต่ละโซน เพื่อสร้างสัดส่วนของพื้นที่ที่แยกขอบเขตการใช้งาน ที่ชัดเจนแต่ยังสามารถ ใช้พื้นที่พร้อมกันได้ บ้านยังเต็มไปด้วยช่อง ว่างให้คนที่อยู่ต่างระดับยังเชื่อมต่อ และปฏิสัมพันธ์กันได้หมด บ้านหรู

เชื่อมต่อทั้งพื้นที่และฟังก์ชัน สถาปนิกใช้เสา คาน และตู้ชั้นที่ทำจากไม้ ช่วยเน้นย้ำให้ เห็นสัดส่วนเส้นสายตาและมีความเชื่อมโยงกันได้หมด ส่วนที่กรุด้วยไม้นี้ไม่ได้ทำหน้าที่ เป็นเพียงเส้นนำสายตาเท่านั้น ยังเสริมฟังก์ชันอื่น ๆ ที่แทรกอยู่ อาทิ ชั้นวาง ช่องเก็บของ ฉากกั้นระหว่างพื้นที่ ตู้หนังสือที่เป็นชิ้นเดียว กับราวกันตกในชั้นลอย เมื่อทุกพื้นที่มารวมกันจะเหมือนกล่องแสดง บันทึกชีวิตภายในบ้านผ่าน ระบบลิ้นชักที่จัดวางไว้อย่างต่อเนื่อง

ห้องน้ำตกแต่งอย่างเรียบง่าย ด้วยวัสดุพื้นผิวสีขาว คอนกรีตเปลือยในบริเวณซิงค์ล้าง ตัดเส้นสายตาด้วยสีดำ ทำให้อารมณ์ในภาพรวมดู สะอาดตาแบบแอบเท่เล็กๆ ผนังบางส่วนในโซนอาบน้ำ ใช้ไม้มาตีในแนวนอน สร้างความต่อเนื่องของอาคารให้เป็น อารมณ์เดียวกันทั้งหมด

โซนห้องครัว น่ารักๆ

บ้านในแต่ละท้องถิ่นควร สร้างให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดสภาวะ สบายภายในและช่วยลดข้อจำกัดในการอยู่อาศัย ในบ้านเขตร้อนชื้นที่มีทั้งแดดจัด และความชื้นจากฝนที่ตกชุก ควรยกพื้นบ้านให้สูงขึ้นตั้งแต่ 0.5-1 เมตร (พื้นที่น้ำหลากสามารถ สร้างบ้านมีใต้ถุนที่สูงกว่านี้) เพื่อลดความเสี่ยงที่ บ้านจะเสียหายจากน้ำขัง ช่องว่างนี้ยังทำให้ลมลอด ผ่านเข้าไปลดความชื้นข้างใต้ เพิ่มความเย็นสบาย ให้บ้านได้อีกทาง

บ้านชั้นเดียวยกสูง ข้อดี

บ้านชั้นเดียวยกสูง
  • บ้านมีความสูง โปร่งโล่ง ดูสะอาดตา
  • อากาศถ่ายเทเย็นสบาย เข้ากับสภาพอากาศประเทศไทย
  • ช่วยให้รับลมธรรมชาติได้ดีขึ้น
  • เปิดรับลมธรรมชาติ ช่วยประหยัดพลังงาน
  • น้ำท่วมไม่ถึง เพราะเป็นบ้านชั้นเดียวยกสูงที่ตัวบ้านอยู่สูงกว่าระดับน้ำ
  • ลดความชื้นจากดินได้ เนื่องจากตัวบ้านอยู่ด้านบน ไม่ติดกับพื้นดิน ช่วยยืดอายุบ้านให้อยู่ได้นาน
  • การพัดของลมที่จะนำฝุ่นเข้าบ้านน้อยลง เนื่องจากตัวบ้านจะอยู่ด้านบน ฝุ่นเข้าน้อยกว่าบ้านชั้นเดียวแบบปกติ
  • ป้องกันสัตว์เข้าบ้านได้ เพราะสัตว์โดยส่วนใหญ่จะมาจากพื้น บ้านชั้นเดียวยกสูงจึงทำให้สัตว์ต่าง ๆ เข้าบ้านได้ยากกว่าปกติ
  • ราคาประหยัดกว่าบ้าน 2 ชั้น หรือบ้าน 3 ชั้น (ขึ้นอยู่กับขนาดบ้าน)
  • ทำความสะอาด ดูแลรักษาง่าย
  • ได้พื้นที่ใช้สำหรับใช้ประโยชน์เพิ่มจากภายในตัว

Related Posts