บ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่ ในอดีตนั้นบ้านของคนญี่ปุ่นจะสร้างจากไม้และกระดาษเป็นหลัก ซึ่งก็นับว่าเป็นจุดเด่นที่ไม่เหมือนประเทศอื่น ๆ แบบบ้านของคนญี่ปุ่นในอดีตนั้นยังแบ่งได้ชัดเจนอีกด้วยว่าบ้านหลังนั้น ๆ เป็นบ้านของคนที่ประกอบอาชีพอะไร
อย่างเช่น บ้านสำหรับเกษตรกรชาวญี่ปุ่น ก็มักจะมุงหลังคาด้วยหญ้า ฟางแก้ว หรือพืชท้องถิ่น ส่วนหากเป็นบ้านสำหรับคนในเมืองข้าราชการหรือบ้านขุนนางในสมัยก่อน ก็มักจะมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง แต่ปัจจุบันนี้บ้านส่วนใหญ่จะมุงหลังคาด้วยกระเบื้องกันหมดแล้ว
บ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่
ปัจจุบันบ้านในเมืองมีการแปร สภาพจากบ้านญี่ปุ่นโบราณ เป็นบ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่ แนวอพาร์ตเมนท์ หรือคอนโดมิเนียม กันเกือบหมด โดยหันมาใช้ปูนซิเมนต์ และเหล็กเป็นวัสดุในการก่อสร้างมากขึ้น ตามยุคสมัยนั่นเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื้อที่ภายในบ้านก็ยังคงเอกลักษณ์ ความเป็นสไตล์ญี่ปุ่นเอาไว้ ทั้งโครงสร้างภายในบ้าน รูปแบบการตกแต่งบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ ที่ยังเน้นผสมผสานชีวิตกับธรรมชาติ ในแบบคนญี่ปุ่นดั้งเดิมอยู่ ซึ่งสะท้อนสังคมวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจน บ้านหรู
แบบบ้านญี่ปุ่นเหมาะกับพื้นที่แบบไหน
เสน่ห์ของแบบ บ้านญี่ปุ่น คือการสร้างอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่เป็นธรรมชาติ รอบๆ บ้านจะต้องมีต้นไม้ มีสวนดอกไม้ พืชผักสวนครัว ก้อนหิน น้ำตก หรือธารน้ำไหล และตัวบ้านจะใช้ไม้เป็นส่วนผสมหลักของบ้านทั้งภายในและภายนอก ถ้าเป็นบ้านที่สร้างในประเทศญี่ปุ่นเอง มักจะนิยมยกพื้นสูง ประมาณไม่เกิน 60 เซนติเมตร เพื่อทำให้มีช่องว่างระหว่างพื้นดินกับพื้นบ้าน เนื่องจากสภาพอากาศของ ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความชื้นสูงมาก
การสร้างบ้านแบบญี่ปุ่นนั้น เหมาะกับทุกพื้นที่ เพราะการสร้างที่ไม่ยึดติด กับพื้นที่มากนัก ออกแบบการใช้สอยอย่างมีอิสระ เน้นใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการสร้างบ้านแบบญี่ปุ่น นิยมเชื่อมพื้นที่ภายในกับภายนอก ให้เป็นพื้นที่เดียวกัน หรือเข้าถึงกันได้ ให้แต่ละส่วนของตัวบ้านสามารถเปิดโล่ง เพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท และได้สัมผัสบรรยากาศรอบตัวบ้านได้
แบบบ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่ ยกลานหิน ใส่ไว้ตรงกลางบ้านโมเดิร์นหลังใหญ่
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบแสงธรรมชาติ ความสงบเรียบของสวนหินและงานไม้ ผสมผสานไปกับเส้นสายและฟังก์ชันในการใช้ชีวิตที่ทันสมัย นั่นอาจจะหมายความว่าสไตล์บ้านที่เหมาะกับคุณ คือ บ้านแบบญี่ปุ่นสมัยใหม่ (modern Japanese) ที่มีกลิ่นอายความเนิบช้าแต่ไม่ได้เป็นญี่ปุ่นจ๋าครอบคลุมทุกพื้นที่
ถ้าภาพฝันที่มองไว้ยังไม่ค่อยชัด “บ้านไอเดีย” ขอแนะนำให้แวะมาชมบ้านหลังนี้ที่อยู่ท่ามกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากภายในภายนอกจะเรียบง่ายสวยงามแล้ว สถาปนิกยังมีจัดการกับความท้าทายของไซต์อย่างชาญฉลาด และปรับแสงธรรมชาติและการระบายอากาศให้เหมาะสมกับความเป็นเมืองร้อนชื้นได้อย่างยอดเยี่ยม
บ้านสองชั้นหลังนี้มีทั้งหมด 5 ห้องนอน ตั้งอยู่ในซอยส่วนบุคคล ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยรอบจึงค่อนข้างปลอดภัยและสงบไม่พลุกพล่าน ภายนอกออกแบบเป็นอาคารโมเดิร์นหลังคาแบนขนาดใหญ่ โทนสีขาวทันสมัย ตกแต่งไม้ในช่วงประตูเน้นกรอบสายตาที่เป็นมิตร ด้านขวามือสร้างโรงรถที่จดได้หลายคัน ทั้งสองปริมตารนี้จะโอบล้อมลานสนามหญ้ากว้าง ๆ อยู่ ซึ่งสีเขียวจะเติมความมีชีวิตชีวาให้บ้านสีขาวนิ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี
บทสรุปการออกแบบจากเจ้าของ ชอบลานหินแบบญี่ปุ่นที่วัด Ryoanji ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของสวนหิน เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น จึงอยากให้มีสวนหินแบบเดียวกันนี้ไว้ที่บ้าน นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ บ้านยังมีปัญหาเกี่ยวกับเสียงจาก มัสยิดสองสามแห่งที่อยู่ใกล้ ๆ และกลิ่นเหม็นจากที่ทิ้งขยะเมื่อฝนตก ทำให้สถาปนิกตัดสินใจยกลานสวนเข้ามาเก็บไว้ในตัวบ้านแทนที่จะอยู่ด้านนอก เมื่อเปิดประตูเข้าสู่ตัวบ้าน ทุกสายตาจะมองตรงไปที่ลานสวนหินสีดำตรงหน้าที่มีขนาด 4×6 ม.
ในการจำลองสวนกลางแจ้งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ แสงธรรมชาติ ทีมงานจึงทำหลังคาสูงหลายเมตรบริเวณนี้แล้วใส่ SKYLIGHT ขนาดเท่า ๆ สวน เพื่อดึงแสงแสงให้ส่องลงมาตรงจุดนี้ได้พอดี สร้างบรรยากาศเหมือนกำลังอยู่ในสวนแบบ out door ให้สมาชิกในบ้านเพลิดเพลินกับสวนแบบส่วนตัว
ซึ่งนับเป็นหนึ่งความท้าทาย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ที่มีแสงแดดจัดและอากาศร้อน การจัดตำแหน่งรับแสงลดชื้น ลดอับ แบบไม่ทำให้บ้านร้อนจึงสำคัญ แต่ในบริเวณนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่างบ้าน 2 ฝั่งจึงไม่กระทบบริเวณที่ใช้ชีวิตประจำวัน
ด้านหนึ่งของสวนจะเป็นพื้นที่ห้องสมุด มีชั้นหนังสือบิลท์ อินติดผนังขนาดใหญ่ ที่สามารถวางของสะสมโชว์ และเก็บของให้เป็นระเบียบ เรียบร้อยที่ตู้ด้านล่าง ส่วนอีกฝั่งคชตรงข้ามจะเป็นมุมครัว ห้องนั่งเล่น ทานอาหาร และบรรเลงเปียโน เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคน ในครอบครัวจะมารวมตัวกันที่นี่
สุดปลายสวนหินเป็นห้อง นั่งเล่นสไตล์ญี่ปุ่น วางเบาะกับโต๊ะญี่ปุ่น กับพื้นให้ใช้เวลาส่วนตัวอย่างสงบ โดยมีบานเลื่อนไม้ระแนงกั้น ส่วนนี้อออกจาโซนอื่นๆ ของบ้านแแบบหลวมๆ ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย อบอุ่นที่สัมผัสได้จากบริเวณนี้ ทำให้บ้านกลายเป็นชิ้นงานมาสเตอร์คลาสที่สื่อถึงสถาปัตยกรรม แบบญี่ปุ่นสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
สถาปนิกพยายามให้มีประตู และหน้าต่างทางทิศเหนือ และทิศใต้ให้มากที่สุด เพื่อสร้างการถ่ายเทอากาศแบบข้าม (cross ventilation) ให้อากาศไหลผ่านช่องว่างออกทางช่อง เปิดที่ฝั่งตรงข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดกั้นการระบายความร้อนภายในบ้าน เมื่อเปิดประตู และหน้าต่างบ้าน เจ้าของบ้านจะสัมผัสได้ถึง ลมธรรมชาติที่พัดผ่าน เข้ามาในบ้านได้ตลอดเวลา จึงแทบไม่จำเป็นต้องมีเครื่องปรับอากาศ
อีกจุดหนึ่งที่เป็นเสมือนไฮไลท์ในชั้นบน อยู่ที่ผนังชั้นบนรอบคอร์ทยาร์ด ที่มีส่วนข้างบนถูกยก ออกจากเพดาน ทำให้มีช่องว่างเล็กน้อยเพื่อระบายความร้อนจากทางเดิน และนำแสงธรรมชาติเข้ามายังทางเดินนี้ จึงไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่างในเวลากลางวัน ช่องว่างนี้ยังสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงเงา และภาพคล้ายโคมกระดาษญี่ปุ่น สีขาขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่ในอากาศอีกด้วย
ทุกห้องของบ้านจะได้รับแสง ในปริมาณที่พอดี กับการใช้งาน และต้องมีมุมมองเปิดออก ไปชมทัศนียภาพที่สร้างไว้อย่างสวยงามข้างนอกได้ โดยที่ยังไม่ต้องก้าวออกไปจากบ้าน แต่ในวันที่อากาศดี เสียงเงียบ ไม่มีกลิ่นรบกวน สมาชิกในบ้านก็เลือกที่จะออกมาใช้ชีวิต บริเวณสวนกลางแจ้งข้างนอกได้เช่นกัน
ข้อดี ข้อเสียของแบบบ้านญี่ปุ่น
การออกแบบบ้านพักอาศัย ของแต่ละประเทศ แต่ละแบบ แต่ละสไตล์นั้นย่อม มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้อยู่อาศัย ว่าจะชอบบ้านแบบไหน ใช้ประโยชน์กับบ้านมากน้อยแค่ไหน ส่วนแบบบ้านญี่ปุ่นนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน เราลองมาดูเป็นข้อ ๆ ว่ามีอะไรกันบ้างเพื่อช่วยให้คนรักบ้านตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ข้อดีของแบบบ้านญี่ปุ่น
- โครงสร้างภายในที่เน้นวัสดุจากไม้ จะช่วยถ่ายเทความร้อน ระบายความร้อนได้ดีกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ ทำให้ภายในบ้านเย็นสบาย ไม่อบอ้าว เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นแบบประเทศไทย
- ความมีเสน่ห์ของไม้ ที่มีลวดลายในตัวเอง ที่สวยงามแตกต่างกันไป การได้สัมผัสผิวเนื้อไม้ จะให้ความอบอุ่นจากความเป็นธรรมชาติ
- โครงสร้าง แบบบ้านญี่ปุ่น นั้นถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงสั่นไหวได้เป็นอย่างดี เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดแผ่นดินไหวได้ตลอดเวลา
- ประโยชน์ใช้สอยคุ้มกับพื้นที่ ตอบสนองการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว
ข้อเสียของแบบบ้านญี่ปุ่น
- เมื่อผ่านการใช้งานมาสักระยะ ไม้อาจมีการหดหรือบิดตัวจากสภาพของแดด ฝนและดินฟ้าอากาศได้ ทำให้เกิดช่องว่างของไม้ หรืออาจมีเสียงลั่นของ ไม้รบกวนมากกว่าการใช้วัสดุชนิดอื่น
- ปัญหาเรื่องปลวกและแมลงกัดเซาะ อาจจะมารบกวนได้ การดูแลรักษาจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
- ปัจจุบันนี้ไม้มีราคาค่อนข้าง แพงกว่าวัสดุชนิดอื่น โดยเฉพาะหากเราเน้นไม้เนื้อดี ก็จะยิ่งมีราคาสูง
- หาช่างเฉพาะทางที่เก่งๆ ยาก การทำงานโครงสร้างไม้นั้นต้องใช้ฝีมือ และความเชี่ยวชาญสูง การจะหาช่างที่มีฝีมือในด้านงานไม้นั้นอาจ จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าช่างด้านอื่นๆ